อิทธิพลของดนตรีญี่ปุ่นในประเทศไทย
บทนำ ประเทศไทยเมื่อในช่วงทศวรรษที่ 90 ช่วงเวลานั้นดนตรีญี่ปุ่นได้เข้ามาเผยแพร่ในสังคมไทยหรือที่เรา เรียกกันว่า J-rock และ J-pop (ก่อนที่ประเทศไทยจะรู้จักดนตรีเกาหลี K-pop) ดนตรีญี่ปุ่นได้สร้างองค์ประกอบต่างๆไว้ในสังคมโดยหลังจากที่อิทธิพลเพลงญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆทาง มีสนใจในการใช้ภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นรวมไปถึงการศึกษาวัฒนธรรมต่างๆของญี่ปุ่น การแต่งกายและแฟชั่นเลียนแบบศิลปินญี่ปุ่นหรือที่เราเรียกกันว่า cosplay
Part 1 ความเป็นมา
ดนตรีญี่ปุ่น เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เข้ามาในสังคมไทยช้านาน แต่คนไทยส่วนใหญ่กลับไม่คิดว่านั่นคือการรับวัฒธรรมทางดนตรีของญี่ปุ่นเข้ามาแล้วเพราะช่วงแรกที่ดนตรีญี่ปุ่นเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยนั้นจะเข้ามาในรูปแบบดนตรีประกอบละครโทรทัศน์หรือดนตรีประกอบการ์ตูนเท่านั้น
X-Japan เป็นเหมือนตัวจุดประกายให้สังคมไทยรู้จักและนิยมดนตรีญี่ปุ่น จนพูดได้ว่ากระแสดนตรีญี่ปุ่นเริ่มเกิดจากวง X-Japan ความสูญเสียครั้งสำคัญคือการเสียชีวิตของ ฮิเดะ มือกีต้าร์ของทางวง X-Japan ทำให้เกิดกระแสครั้งใหญ่ขึ้นมาอีกครั้ง
Part 2 ดนตรีญี่ปุ่น
วง X-Japan ถือว่าเป็นวงดนตรีวงแรกที่ให้กำเนิดแนวเพลงที่ชื่อวว่า วิชวลเค (Visual Kei) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมย่อยทางดนตรีรูปแบบหนึ่งของนักดนชาวญี่ปุ่น วิชวลเคมาจากการผสมคำว่า วิชวล (อังกฤษ : Visual)ซึ่งแปลว่า "ภาพลักษณ์" และคำว่าเค (ญี่ปุ่น : kei ) ซึ่งแปลว่า "แนวทาง" ดังนั้นวิชวลเคจึงสามารถนิยามได้ว่าเป็น วัฒนธรรมทางดนตรีที่เน้นภาพลักษณ์ มากกว่าสกุลทางดนตรี หรือสั้นๆว่า "ดนตรีแนวภาพลักษณ์"
Part 3 ผลกระทบจากดนตรีญี่ปุ่น
หลังจากที่ดนตรีญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น ทำให้วงการเพลงรวมถึงศิลปินหลายๆคนได้ รับแรงบันดาลใจจากดนตรีญี่ปุ่น หลังจากที่ดนตรีญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น โดยที่จะเห็นได้ชัดเจนคือ วัยรุ่นกลุ่มที่นิยมดนตรีญี่ปุ่นหลังจากที่ได้รู้จักกับดนตรีญี่ปุ่นแล้วจะมีความคิดว่าตนเป็นคน หนึ่งที่ชื่นชอบในดนตรีชนิดนี้ ศูนย์กลางที่วัยรุ่นผู้มีรสนิยมความชอบในดนตรีประเภทเดียวกันได้มารู้จักกัน จึงเกิดการรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อนผู้นิยมดนตรีญี่ปุ่น
จากการรวบรวมข้อมูลจะเห็นได้ว่า เรื่องราวของอิทธิพลดนตรีญี่ปุ่นที่มีผลต่อสังคมไทยมากพอสมควรทั้งการเลือกซื้อเสื้อผ้า การแต่งหน้าทำผม รวมไปถึงการเลือกซื้อแผ่นเพลงจากศิลปินญี่ปุ่นเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น